Friday, April 13, 2012

บ้านสำหรับคนพิการ

บ้านสำหรับคนพิการ ตอนที่ 1

ความหมายของผู้พิการ
คนพิการ ตามกฎหมายมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 หมายถึง
บุคคลที่มีความผิดปกติ หรือบกพร่องทางร่างกาย ทางสติปัญญาหรือทางจิตใจ

ลักษณะความพิการ
ลักษณะความพิการตามประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 แบ่งออกเป็น
- พิการทางการมองเห็น
- พิการทางการได้ยินและสื่อความหมาย
- พิการทางกายหรือการเคลื่อนไหว
- พิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม
- พิการซ้ำซ้อน

ในขอบเขตของกฎหมาย คนพิการทางร่างกายและการเคลื่อนไหวจะต้องมีลักษณะดังนี้

1. คนที่มีความผิดปกติหรือความปกพร่องของร่างกายที่เห็นได้อย่างชัดเจนและไม่สามารถ
ประกอบกิจวัตรหลักในชีวิตประจำวัน
2. คนที่สูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหวมือ แขน ขา หรือลำตัวอันเนื่องมาจาก
แขนหรือขาขาด อัมพาตหรืออ่อนแรง โรคข้อหรืออาการปวดเรื้อรัง รวมทั้งโรคเรื้อรังของระบบการทำงาน
ของร่างกายอื่นๆ ที่ทำให้ไม่สามารถประกอบกิจวัตรหลักในชีวิตประจำวันหรือดำรงชีวิต
ในสังคมเยี่ยงคนปกติได้

ความบกพร่องของร่างกายที่ส่งผลต่อการใช้อาคาร
- ความบกพร่องทางการขยับเขยื้อนอวัยวะ
- ความบกพร่องทางการทรงตัว
- ความบกพร่องทางการเคลื่อนที่

ทำไมต้องเตรียมบ้านคนพิการ?
หากในบ้านของคุณมีผู้พิการอาศัยอยู่ร่วมกันกับบุคคลปกติอาจเคยสงสัยหรือพบปัญหาเกี่ยวกับ
การใช้พื้นที่ของอาคารสำหรับคนพิการซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ดังนั้นเราควรที่จะคำนึงถึงการออกแบบ
พื้นที่ใช้สอยนั้นเพื่อให้คนพิการสามารถช่วยตัวเองและมีชีวิตร่วมกันกับคนปกติได้โดยพึ่งพาคนอื่นๆน้อยลง

บ้านสำหรับคนพิการ ตอนที่ 2

ผู้พิการตาบอด-ผู้พิการนั่งรถเข็น

โดยทั่วไปความพิการที่ส่งผลต่อการใช้สอยพื้นที่ในอาคารที่เราสามารถพบบ่อย ได้แก่
-ความพิการทางการมองเห็น เช่น คนตาบอด
-ความพิการทางการเคลื่อนที่ เช่นผู้พิการที่ใช้ล้อเลื่อน

คนตาบอด คนนั่งรถเข็น

การออกแบบเพื่อผู้พิการ
ข้อควรรู้เกี่ยวกับพื้นที่ใช้สอยภายในอาคาร ในส่วนต่างมีดังต่อไปนี้

ทางเดินสำหรับคนตาบอด
โดยทั่วไปช่องทางที่แคบที่สุดสำหรับคน 1 คนเดินผ่าน คือ 0.62ม. ถ้าผู้พิการที่ใช้ไม้เท้า
อาจต้องการพื้นที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย

.

ทางสัญจรสำหรับผู้พิการนั่งรถเข็น
ควรกว้างไม่น้อยกว่า 90 ซม.( ขนาดรถเข็นทั่วไป ) แต่ถ้าเป็นทางที่สวนกัน ควรไม่น้อยกว่า 1.80 ม.
และควรคำนึงถึงระยะกลับและเลี้ยวของรถเข็นด้วย โดยระยะกลับ 90 องศา
ประมาณ 1.35 ม.
แต่ถ้า 180 องศา ประมาณ 1.75ม



บ้านสำหรับคนพิการ ตอนที่ 3

การออกแบบพื้น
ลักษณะควรเป็นแนวตรง ลักษณะผิวมีความแข็ง, เรียบและฝืด หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนระดับและควรระบายน้ำได้ดี

ราวกันตก
ควรสูงไม่น้อยกว่า 1.11ม. เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่สูงกว่าครึ่งนึงของร่างกายเล็กน้อย
และควรทำขอบกั้นที่พื้นสูงอย่างน้อย 0.10 ม.(10 ซม.) เพื่อป้องกันการไถลตกของรถเข็น

ทางเข้าและประตู
สำหรับคนตาบอด ควรมีขนาดความกว้างพอสมควร เพื่อให้เดินผ่านได้สะดวก
และไม่ควรยกพื้นต่างระดับ หากจำเป็นควรทำเป็นทางลาดเอียง
เพื่อป้องกันการสะดุดหกล้ม

สำหรับคนนั่งรถเข็น ประตู และทางเข้าควรมีความกว้างมากกว่าความกว้างของรถเข็นและระยะกางแขน
ในกรณีที่ผู้พิการใช้แขนเข็นรถเอง นิยมใช้ประตูบานเลื่อนมากกว่าบานเปิด มีอุปกรณ์ดึงกลับอัตโนมัติ
และมีมือจับที่สามารถจับได้ถนัดมือ

มือจับ
ควรเลือกมือจับที่มีรูปทรง ที่สามารถจับได้ด้วยนิ้วเดียวไม่ต้องใช้การ
บิดหรือการออกแรงมากนัก
มือจับมีลักษณะเป็นท่อหรือเป็นราวจับ เพื่อความสะดวกในการใช้งาน ตำแหน่งติดตั้งควรสูงจากพื้น
0.90ม.-1.10 ม. อยู่ห่างจากบานพับมากที่สุดเพราะจะออกแรงน้อยที่สุด



บ้านสำหรับคนพิการ ตอนที 4

บันได
สำหรับคนตาบอด ควรมีการทำแถบพื้นผิวต่างสัมผัสล่วงหน้า เป็นระยะอย่างน้อย 1 ม. จากบันได
ขั้นแรก มีระยะลูกตั้ง, นอนที่คงที่ ไม่ควรทำลูกตั้งโปร่งหรือเว้นลูกตั้งเพราะ
ไม้เท้าอาจสอดเข้าไป
ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ขนาดลูกนอนไม่ควรต่ำกว่า 27ซม.ลูกตั้งไม่ควรเกิน 18ซม.
ความชันสูงสุดไม่เกิน 35 องศา ลักษณะขอบขั้นควรทำผิวโค้งมนแทนสันเหลี่ยม



ทางลาดเอียง
ทางลาดควรมีความชันน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ความชันที่เหมาะสมควรอยู่ที่
1:20 และไม่เกินกว่า 1:12
(เป็นระดับที่ผู้ออกแรงเข็นด้วยตนเองยังสามารถควบคุมทิศทางได้) , มีพื้นผิวที่มีความเสียดทาน ไม่ลื่น,
ขนาดความกว้างไม่ต่ำกว่า 90ซม. ถ้ารถสามารถสวนกันได้ระยะควร
มากกว่า 180ซม.



ชานพัก
ความกว้างของชานพักจะมีขนาดเท่ากับความกว้างของทางลาด หรือความยาวไม่ต่ำกว่า 1.20ม.
(ขนาดของรถเข็นรวมกับระยะเผื่อ) จุดที่ควรทำชานพัก
- ทางขึ้นและจุดบนสุดของทางลาด
- จุดที่ทางลาดเปลี่ยนทิศทาง
- ทุกระยะ 12ม. ของทางลาด1:15
- ทุกระยะ 9ม. ของทางลาด 1:12
- จุดที่มีประตูทางเข้า

บ้านสำหรับคนพิการ ตอนที่ 5

แผงควบคุมสวิทซ์ไฟ และปลั๊กต่างๆ
อยู่ในตำแหน่งเข้าถึงได้สะดวกและเอื้อมถึงระยะแตะด้านหน้าไม่เกิน 130 ซม.ด้านข้างไม่เกิน 149 ซม.
ระยะต่ำสุดด้านหน้าไม่ต่ำกว่า 38ซม. ด้านข้างไม่ต่ำกว่า23 ซม. ควรสูงจากพื้น 120 ซม.
ควรมีขนาดไฟพอสมควรที่จะเห็นได้ในระยะไกล

ที่เก็บของ
ภายในเป็นที่โล่งไว้แขวนเสื้อผ้าหรือแบ่งเป็นชั้นวางของ เป็นชั้นเปิดโล่ง หรือลิ้นชัก เพื่อให้สามารถ
เก็บบรรจุของได้มาก หน้าตู้ควรเว้นที่ว่างสำหรับเคลื่อนที่ของเก้าอี้ล้อเลื่อนทั้งแบบหันหน้าเข้า
เป็นระยะไม่ต่ำกว่า 110 ซม. และหันข้างเข้าเป็นระยะไม่ต่ำกว่า 90 ซม. ตลอดความยาวตู้
ไม่ควรวางตู้เข้ามุมห้องเพราะเป็นตำแหน่งที่เก้าอี้ล้อเลื่อนจะเข้าถึงได้ลำบาก ควรเว้นห่างจาก
ผนังห้องไม่ต่ำกว่า 30 ซม. คนนั่งรถเข็นมีระยะเอื้อมจำกัดจะเอื้อมมือสูงสุดที่ระดับ 130 ซม.
และต่ำ 35 ซม


ระยะการใช้งานด้านหน้า


ระยะการใช้งานด้สนข้าง


ระยะชั้นวางของ

0 comments:

Blog Archive