Friday, April 13, 2012

สิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อผู้พิการและผู้สูงอายุ

มีผู้สนใจทั่วๆ ไป อยากทำสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อผู้พิการและผู้สูงอายุแต่ไม่ทราบจะหาข้อมูลจากที่ใด จึงขอรวบรวมมาไว้ ณ ที่นี้

ส่วนรูปประกอบ ไม่ได้เกี่ยวกับเนื้อเรื่อง  แต่ เป็นเรื่องตรงกันข้ามนะ

 การ จัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุในอาคาร สถานที่ ของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ตามมาตรฐานอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการ ในระเบียบคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ว่าด้วยมาตรฐานอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ พ.ศ.2544 และกฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ. 2548

มาตรฐานหรือสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการ

-ป้ายแสดงสิ่งอำนวยความสะดวก

1. มีสัญลักษณ์รูปผู้พิการ ตามสถานที่ หรือ อาคาร
2. มีเครื่องหมายแสดงทางไปสู่สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา
3. มีสัญลักษณ์ หรือตัวอักษรแสดงประเภทของสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา
4. สัญลักษณ์รูปผู้พิการ , เครื่องหมายแสดงทางไปสู่สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ, สัญลักษณ์หรือตัวอักษรแสดงประเภทของสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ เป็นสีขาวบนพื้นสีน้ำเงิน หรือสีน้ำเงินบนพื้นสีขาว
5. ป้ายแสดงสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพและคนชรา มีความชัดเจน ติดอยู่ในตำแหน่งที่มองเห็นได้ง่าย และมีแสงส่องสว่างเวลากลางคืน

-ทางลาด

1. พื้นผิวทางลาดเป็นวัสดุที่ไม่ลื่น
2. พื้นผิวของจุดต่อเนื่องระหว่างพื้นกับทางลาดต้องเรียบไม่สะดุด
3. มีความกว้างไม่น้อยกว่า 90 ซม. (กรณีทางลาดยาวไม่เกิน 6 เมตร)
4. มีพื้นที่หน้าทางลาดเป็นที่ว่างยาวไม่น้อยกว่า 150 ซม.
5. มีความลาดชันไม่เกิน 1:12
6.ทางลาด มาตราฐาน อัตรา 1ส่วน ต่อ12 ส่วนกรณีทางลาดมีความยาวเกิน 6 เมตร
6.1 มีความกว้างไม่น้อยกว่า 150 ซม.
6.2 มีชานพักความยาวไม่น้อยกว่า 150 ซม. คั่นระหว่างแต่ละช่วงของทางลาด ก่อนขึ้นทางลาดใหม่
7. ทางลาดด้านที่ไม่มีผนังกั้น มียกขอบสูงไม่น้อยกว่า 5 ซม. และมีราวกั้นตก
8. มีราวจับทั้ง 2 ด้าน (สำหรับทางลาดที่มีความยาว 2.5 ม. ขึ้นไป)
8.1 ทำด้วยวัสดุเรียบ มีความมั่นคงแข็งแรง ไม่เป็นอันตรายในการจับและไม่ลื่น
8.2 มีลักษณะกลม เส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 3 ซม. แต่ไม่เกิน4 ซม.
8.3 สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 80 ซม. แต่ไม่เกิน 90 ซม.
8.4 ราวจับด้านติดผนัง มีระยะห่างจากผนังไม่น้อยกว่า 5 ซม.มีความสูงจากจุดยึดไม่น้อยกว่า 12 ซม. และเป็นผนังเรียบ
8.5 ราวจับยาวต่อเนื่อง และส่วนที่ยึดติดกับผนังจะต้องไม่กีดขวางหรือเป็นอุปสรรคต่อการใช้ของคนพิการทางการมองเห็น
8.6 ปลายราวจับให้ยื่นเลยจากจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของทางลาดไม่น้อยกว่า 30 ซม.
9. มีป้ายแสดงทิศทาง ตำแหน่ง หรือหมายเลขชั้นของอาคารที่คนพิการทางการมองเห็นและคนชราสามารถทราบความหมาย ได้ ตั้งอยู่บริเวณทางขึ้น-ลงของทางลาดที่เชื่อมระหว่างชั้นของอาคาร
10. มีสัญลักษณ์รูปผู้พิการติดไว้ในบริเวณทางลาด

- ลิฟต์

1. ลิฟต์สามารถขึ้นลงได้ทุกชั้น
2. มีระบบควบคุมลิฟต์ ที่คนพิการ สามารถควบคุมได้เอง
3. จัดไว้ในบริเวณที่คนพิการสามารถใช้ได้สะดวก
4. มีสัญลักษณ์รูปผู้พิการด้านนอกของลิฟต์
5. มีความกว้างไม่น้อยกว่า 110 ซม. ยาวไม่น้อยกว่า 140 ซม.
6. ประตูลิฟต์ต้องมีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 90 ซม.
7. มีระบบแสงป้องกันไม่ให้ประตูลิฟต์หนีบผู้โดยสาร
8. มีพื้นผิวต่างสัมผัสบนพื้นบริเวณหน้าประตูลิฟต์กว้าง 30 ซม. และยาว 90 ซม. ห่างจากประตูลิฟต์ไม่น้อยกว่า 30 ซม. แต่ไม่เกิน 60 ซม.
9. ปุ่มกดเรียกลิฟต์ ปุ่มบังคับลิฟต์ และปุ่มสัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉิน
9.1 ปุ่มล่างสุดอยู่สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 90 ซม. ปุ่มบนสุดอยู่สูงจากพื้นไม่เกินกว่า 120 ซม. ห่างจากมุมภายในห้องลิฟต์ไม่น้อยกว่า40 ซม. ในกรณีที่ห้องลิฟต์มีขนาดกว้างและยาวน้อยกว่า 150 ซม.
9.2 ปุ่มกดมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 2 ซม. มีอักษรเบรลล์กำกับไว้ทุกปุ่ม เมื่อกดปุ่มจะต้องมีเสียงดังและมีแสง
9.3 ไม่มีสิ่งกีดขวางบริเวณที่กดปุ่มลิฟต์
10. มีราวจับโดยรอบภายในลิฟต์ โดยมีลักษณะดังนี้
10.1 ทำด้วยวัสดุเรียบ มีความมั่นคงแข็งแรง ไม่เป็นอันตรายในการจับและไม่ลื่น
10.2 มีลักษณะกลม เส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 3 ซม. แต่ไม่เกิน4 ซม.
10.3 สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 80 ซม. แต่ไม่เกิน 90 ซม.
10.4 ราวจับด้านติดผนัง มีระยะห่างจากผนังไม่น้อยกว่า 5 ซม.มีความสูงจากจุดยึดไม่น้อยกว่า 12 ซม. และเป็นผนังเรียบ
11. มีตัวเลขและเสียงบอกตำแหน่งชั้น เมื่อลิฟต์หยุด และขึ้นหรือลง
12. มีป้ายแสดงหมายเลขชั้นและแสดงทิศทางบริเวณโถงหน้าประตูลิฟต์และติดอยู่ในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจน
13. กรณีที่ลิฟต์ขัดข้อง มีทั้งเสียงและแสงไฟเตือนภัยเป็นไฟกะพริบสีแดง เพื่อให้คนพิการทางการมองเห็นและคนพิการทางการได้ยินทราบ และมีไฟกะพริบสีเขียวเป็นสัญญาณให้คนพิการทางการได้ยินได้ทราบว่าผู้ที่อยู่ ข้างนอกรับทราบแล้วว่าลิฟต์ขัดข้องและกำ ลังให้ความช่วยเหลืออยู่
14. มีโทรศัพท์แจ้งเหตุฉุกเฉินภายในลิฟต์ที่สามารถติดต่อกับภายนอกได้ โดยอยู่สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 90 ซม. แต่ไม่เกิน 120 ซม.
15. มีระบบการทำงานที่ทำให้ลิฟต์เลื่อนมาอยู่ตรงที่จอดชั้นระดับพื้นดินและประตูลิฟต์เปิดโดยอัตโนมัติเมื่อไฟฟ้าดับ
16. มีกล้องโทรทัศน์วงจรปิด*

-บันได

1. มีบันไดที่ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชราใช้ได้ อย่างน้อยชั้นละ 1 แห่ง
2. มีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 150 ซม.
3. มีชานพักทุกระยะในแนวดิ่งไม่เกิน 2 เมตร
4. มีราวบันไดทั้ง 2 ข้าง โดยราวมีลักษณะดังนี้
4.1 ทำด้วยวัสดุเรียบ มีความมั่นคงแข็งแรง ไม่เป็นอันตรายในการจับและไม่ลื่น
4.2 มีลักษณะกลม เส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 3 ซม. แต่ไม่เกิน4 ซม.
4.3 สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 80 ซม. แต่ไม่เกิน 90 ซม.
4.4 ราวจับด้านติดผนัง มีระยะห่างจากผนังไม่น้อยกว่า 5 ซม.มีความสูงจากจุดยึดไม่น้อยกว่า 12 ซม. และเป็นผนังเรียบ
4.5 ราวจับยาวต่อเนื่อง และส่วนที่ยึดติดกับผนังจะต้องไม่กีดขวางหรือเป็นอุปสรรคต่อการใช้ของคนพิการทางการมองเห็น
4.6 ปลายราวจับให้ยื่นเลยจากจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของทางลาดไม่น้อยกว่า 30 ซม.
5. ลูกตั้งสูงไม่เกิน 15 ซม. ลูกนอนเมื่อหักส่วนที่ขั้นบันไดเหลื่อมกันออกแล้วเหลือความกว้างไม่น้อยกว่า 28 ซม.
6. มีขนาดสม่ำเสมอตลอดช่วงบันได ในกรณีที่ขั้นบันไดเหลื่อมกันหรือมีจมูกบันไดให้มีระยะเหลื่อมกันได้ไม่เกิน 2 ซม.
7. พื้นผิวของบันไดใช้วัสดุที่ไม่ลื่น
8. ลูกตั้งบันไดทึบ (ห้ามเปิดเป็นช่องโล่ง)
9. มีป้ายแสดงทิศทาง ตำแหน่ง หรือหมายเลขชั้นของอาคารที่คนพิการทางการมองเห็นและคนชราสามารถทราบความหมาย ได้ ตั้งอยู่บริเวณทางขึ้นและทางลงของบันไดที่เชื่อมระหว่างชั้นของอาคาร

- ที่จอดรถ

1. จัดให้มีที่จอดรถสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชราอย่างน้อยตามอัตราส่วน 50:1
2. ที่จอดรถสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา อยู่ใกล้ทางเข้าออกอาคาร
3. ที่จอดรถสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา ไม่ขนานกับทางเดินรถ
4. มีพื้นผิวเรียบ มีระดับเสมอกัน
5. มีสัญลักษณ์รูปผู้พิการนั่งเก้าอี้ล้ออยู่บนพื้นของที่จอดรถด้านที่ติดกับทางเดินรถ
6. สัญลักษณ์รูปผู้พิการ มีขนาดกว้าง x ยาวไม่น้อยกว่า 90 x 90 ซม.
7. มีป้ายขนาดกว้างกว้าง x ยาวไม่น้อยกว่า 30 x 30 ซม. ติดอยู่สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 2 เมตร ในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจน
8. ที่จอดรถมีขนาดกว้างกว้าง x ยาวไม่น้อยกว่า 2.40 x 6.00 เมตร และมีที่ว่างข้างที่จอดรถกว้างไม่น้อยกว่า 1 เมตร ตลอดความยาวของที่จอดรถ โดยที่ว่างดังกล่าวต้องมีลักษณะพื้นผิวเรียบและมีระดับเสมอกับที่จอดรถ

- ทางเข้าอาคาร

1. เป็นพื้นผิวเรียบเสมอกัน ไม่ลื่น
2. ไม่มีสิ่งขีดขวาง
3. ไม่มีส่วนของอาคารยื่นล้ำออกมาเป็นอุปสรรคหรืออาจทำให้เกิด
อันตรายต่อผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา
4. อยู่ในระดับเดียวกับพื้นภายนอกอาคารหรือพื้นลานจอดรถ
5. กรณีอยู่ต่างระดับกับพื้นภายนอกอาคารหรือพื้นลานจอดรถ
5.1 มีทางลาดที่สามารถขึ้นลงได้สะดวก
5.2 ทางลาดอยู่ใกล้ที่จอดรถ

- ทางเดินระหว่างอาคารและทางเชื่อมระหว่างอาคาร

1.เป็นพื้นผิวเรียบเสมอกัน ไม่ลื่น
2. มีความกว้างไม่น้อยกว่า 150 ซม.
3. หากมีท่อระบายน้ำหรือรางระบายน้ำบนพื้น มีฝาปิดสนิท
4. กรณีฝาเป็นแบบตะแกรงหรือแบบรู มีขนาดของช่องตะแกรงหรือเส้นผ่านศูนย์กลางของรูกว้างไม่เกิน 1.3 ซม.
5. มีแนวร่องหรือแนวของราง ขวางกับแนวทางเดิน
6. มีพื้นผิวต่างสัมผัส บริเวณที่เป็นทางแยกหรือทางเลี้ยว
7. กรณีมีสิ่งกีดขวางที่จำเป็นบนทางเดิน ถูกจัดอยู่ในแนวเดียวกันในลักษณะไม่กีดขวางทางเดิน และมีพื้นผิวต่างสัมผัสหรือมีการกั้นเพื่อให้ทราบก่อนถึงสิ่งกีดขวาง อยู่ห่างสิ่งกีดขวางไม่น้อยกว่า 30 ซม.
8. ป้ายหรือสิ่งอื่นใดที่แขวนอยู่เหนือทางเดิน มีความสูงไม่น้อยกว่า2 เมตร
9. กรณีพื้นทางเดินกับพื้นถนนมีระดับต่างกัน มีพื้นลาดที่มีความลาดชันไม่เกิน 1:10
10. ทางเชื่อมระหว่างอาคารมีผนังหรือราวกันตกทั้ง 2 ด้าน โดยมีราวจับซึ่งมีลักษณะตามที่กำหนด ที่ผนังหรือราวกันตกนั้น และมีทางเดินซึ่งมีลักษณะตามข้อ 1 – 8

- ประตู

1. ประตูเปิดปิดได้ง่าย
2. หากมีธรณีประตู ความสูงธรณีประตูไม่เกิน 2 ซม. ขอบทั้งสองด้านมีความลาดเอียงไม่เกิน 45 องศา
3. มีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 90 ซม.
4. กรณีประตูเป็นแบบบานเปิดผลักเข้า-ออก เมื่อเปิดออกแล้วมีพื้นที่ว่างขนาดกว้าง x ยาวไม่น้อยกว่า 150 x 150 ซม.
5. กรณีประตูเป็นแบบบานเลื่อนหรือแบบบานเปิด มีมือจับที่มีขนาดเท่ากับราวจับ (ลักษณะกลม เส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 3 ซม. แต่ไม่เกิน 4 ซม.) ในแนวดิ่งทั้งด้านในและด้านนอกของประตู ปลายด้านบนสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 100 ซม. ปลายด้านล่างไม่เกิน 80 ซม.
6. กรณีเป็นประตูบานเปิดออก มีราวจับตามแนวนอนด้านในประตูและในกรณีที่เป็นประตูบานเปิดเข้า มีราวจับตามแนวนอนด้านนอกประตู สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 80 ซม. แต่ไม่เกิน 90 ซม. ยาวไปตามความกว้างของประตู
7. กรณีประตูเป็นกระจกหรือลูกฟักเป็นกระจก มีเครื่องหมายหรือแถบสีที่สังเกตเห็นได้ชัด
8. อุปกรณ์เปิดปิดประตูเป็นชนิดก้านบิดหรือแกนผลัก อยู่สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 100 ซม. แต่ไม่เกิน 120 ซม.
9. ติดตั้งอุปกรณ์ปิดประตูอัตโนมัต (ที่อาจทำให้ประตูหนีบหรือกระแทกผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา)

-ห้องส้วม

1. มีห้องส้วมสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชราเข้าใช้ได้อย่างน้อย 1 ห้อง
2. ห้องส้วมจัดแยกออกมาอยู่เฉพาะผู้พิการ
3. ห้องส้วมจัดในบริเวณเดียวกับห้องส้วมสำหรับบุคคลทั่วไป
4. มีพื้นที่ว่างภายในห้องส้วม เพื่อให้เก้าอี้ล้อสามารถหมุนตัวกลับได้มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 150 ซม.
5. ประตูเป็นแบบบานเปิดออกสู่ภายนอก โดยต้องเปิดค้างได้ไม่น้อยกว่า 90 องศา
6. ประตูเป็นแบบบานเลื่อน และมีสัญลักษณ์รูปผู้พิการติดไว้ที่ประตูด้านหน้าห้องส้วม
7. พื้นห้องส้วมมีระดับเสมอกับพื้นภายนอก
8. พื้นห้องส้วมปูด้วยวัสดุกันลื่น
9. พื้นห้องส้วมมีความลาดเอียงเพียงพอ ที่จะไม่ให้มีน้ำขังบนพื้น
10. มีโถส้วมชนิดนั่งราบ สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 45 ซม. แต่ไม่เกิน50 ซม.
11. มีพนักพิงหลังที่ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชราที่ไม่สามารถนั่งทรงตัวได้ ใช้พิงได้
12. ที่ปล่อยน้ำเป็นชนิดคันโยก ปุ่มกดขนาดใหญ่หรือชนิดอื่นที่ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชราสามารถใช้ได้อย่างสะดวก
13. มีด้านข้างด้านหนึ่งของโถส้วมอยู่ชิดผนัง มีระยะห่างจากกึ่งกลางโถส้วมถึงผนังไม่น้อยกว่า 45 ซม. แต่ไม่เกิน 50 ซม.
14. ด้านที่ไม่ชิดผนัง มีที่ว่างมากพอที่ผู้พิการหรือคนชราที่นั่งเก้าอี้ล้อสามารถเข้าไปใช้ได้โดยสะดวก
15. กรณีด้านข้างโถส้วมทั้ง 2 ด้านอยู่ห่างจากผนังเกิน 50 ซม. มีราวจับติดผนังแบบพับเก็บได้ในแนวราบ ที่เมื่อกางออกแล้วมีระบบล็อกที่ผู้พิการสามารถปลดล็อกได้ง่าย มีระยะห่างจากขอบของโถส้วมไม่น้อยกว่า 15 ซม. แต่ไม่เกิน 20 ซม. และมีความยาวไม่น้อยกว่า 55 ซม.
16. ด้านที่ชิดผนัง มีราวจับบริเวณช่วยในการพยุงตัว เป็นราวจับในแนวนอนและแนวดิ่ง (ราวจับรูปตัวแอล L )
16.1 ราวจับในแนวนอนมีความสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 65 ซม. แต่ไม่เกิน 70 ซม. และให้ยื่นล้ำออกมาจากด้านหน้าโถส้วมอีกไม่น้อยกว่า 25 ซม. แต่ไม่เกิน 30 ซม.
16.2 ราวจับในแนวดิ่งต่อจากปลายของราวจับในแนวนอนด้านหน้าโถส้วมมีความยาววัดจากปลายของราวจับในแนวนอนขึ้นไปอย่างน้อย 60 ซม.
17. ด้านข้างโถส้วมด้านที่ไม่ชิดผนัง มีราวจับติดผนังแบบพับเก็บได้ในแนวราบ ที่เมื่อกางออกแล้วมีระบบล็อกที่ผู้พิการสามารถปลดล็อกได้ง่าย มีระยะห่างจากขอบของโถส้วมไม่น้อยกว่า 15 ซม. แต่ไม่เกิน20 ซม. และมีความยาวไม่น้อยกว่า 55 ซม.
18. มีราวจับนำไปสู่สุขภัณฑ์อื่นภายในห้องส้วม มีความสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 80 ซม. แต่ไม่เกิน 90 ซม.
19. มีระบบสัญญาณแสงและสัญญาณเสียง (ทั้ง 2 อย่าง) ให้ผู้ที่อยู่ภายนอกแจ้งภัยแก่ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชราที่อยู่ภายในห้องส้วมได้
20. มีระบบสัญญาณแสงและสัญญาณเสียง (ทั้ง 2 อย่าง) ให้ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชราสามารถแจ้งเหตุหรือเรียกหาผู้ช่วยเหลือกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินไว้ใน ห้องส้วม
21. ปุ่มกดหรือปุ่มสัมผัสแจ้งเหตุหรือเรียกหาผู้ช่วยเหลือ ติดตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ผู้พิการสามารถใช้งานได้สะดวก
22. มีอ่างล้างมือที่มีที่วางใต้อ่าง เพื่อให้เก้าอี้ล้อสามารถสอดเข้าไปได้ขอบอ่างอยู่ห่างจากผนังไม่น้อยกว่า 45 ซม.
23. อ่างล้างมืออยู่ในตำแหน่งที่ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชราเข้าประชิดได้โดยไม่มีสิ่งกีดขวาง
24. อ่างล้างมือสูงจากพื้นถึงขอบบนของอ่างไม่น้อยกว่า 75 ซม. แต่ไม่เกิน 80 ซม.
25. มีราวจับในแนวนอนแบบพับเก็บได้ในแนวดิ่งทั้งสองข้างของอ่าง
26. ก๊อกน้ำเป็นชนิดก้านโยกหรือก้านกดหรือก้านหมุนหรือระบบอัตโนมัติ
27. ห้องส้วมอยู่ในตำแหน่งที่ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชราสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก
28. มีอักษรเบรลล์ ติดไว้ที่ผนังข้างทางเข้าแสดงให้รู้ว่าเป็นห้องส้วมชายหรือหญิง
29. มีที่ถ่ายปัสสาวะ (ชาย) ระดับเสมอพื้นอย่างน้อย 1 ที่
30. มีราวจับในแนวนอนอยู่ด้านบนของที่ถ่ายปัสสาวะยาวไม่น้อยกว่า50 ซม. แต่ไม่เกิน 60 ซม. มีความสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 120 ซม. แต่ไม่เกิน 130 ซม.และมีราวจับด้านข้างที่ถ่ายปัสสาวะทั้ง 2 ข้าง มีความสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 80 ซม. แต่ไม่เกิน 100 ซม. ซึ่งยื่นออกมาจากผนังไม่น้อยกว่า 55 ซม. มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 60 ซม.
31. มีที่ใส่สบู่เหลวเป็นชนิดก้านโยกหรือก้านกด*
32. มือจับปิดเปิดประตูเป็นชนิดก้าน*

- พื้นผิวต่างสัมผัส

1. มีพื้นผิวต่างสัมผัส ที่พื้นบริเวณที่มีระดับต่างกันเกิน 2 ซม. ขนาดกว้าง 30 ซม. ยาวเท่ากับและขนานไปกับความกว้างของช่องทางเดินของพื้นต่างระดับ และอยู่ห่างจากจุดเริ่มต้นของพื้นต่างระดับ ไม่น้อยกว่า 30 ซม. แต่ไม่เกิน 35 ซม.
2. มีพื้นผิวต่างสัมผัส ที่ทางขึ้น - ลงของทางลาด ขนาดกว้าง 30 ซม.ยาวเท่ากับและขนานไปกับความกว้างของทางลาด และอยู่ห่างจากจุดเริ่มต้นทางขึ้น - ลงทางลาด ไม่น้อยกว่า 30 ซม. แต่ไม่เกิน 35 ซม.
3. มีพื้นผิวต่างสัมผัส ที่ทางขึ้น – ลงของบันได ขนาดกว้าง 30 ซม.ยาวเท่ากับและขนานไปกับความกว้างของบันได และอยู่ห่างจากจุดเริ่มต้นของทางขึ้น - ลงของบันได ไม่น้อยกว่า 30 ซม. แต่ไม่เกิน35 ซม.
4. มีพื้นผิวต่างสัมผัส ที่พื้นด้านหน้าและด้านหลังประตูทางเข้าอาคารขนาดกว้าง 30 ซม. ยาวเท่ากับและขนานไปกับความกว้างของประตูและอยู่ห่างจากประตู ไม่น้อยกว่า 30 ซม. แต่ไม่เกิน 35 ซม.
5. มีพื้นผิวต่างสัมผัส ที่พื้นด้านหน้าของประตูห้องส้วม ขนาดกว้าง30 ซม. ยาวเท่ากับและขนานไปกับความกว้างของประตู และอยู่ห่างจากประตู ไม่น้อยกว่า 30 ซม. แต่ไม่เกิน 35 ซม.
6. กรณีสถานีขนส่งมวลชน ให้ขอบนอกของพื้นผิวต่างสัมผัสอยู่ห่างจากขอบของชานชาลาไม่น้อยกว่า 60 ซม. แต่ไม่เกิน 65 ซม.
7. พื้นผิวต่างสัมผัส ให้ใช้สีเหลืองหรือสีอื่นที่เด่นชัด*

- โรงมหรสพ หอประชุม และโรงแรม

1. กรณีโรงมหรสพหรือหอประชุม จัดให้มีพื้นที่เฉพาะสำหรับเก้าอี้ล้ออย่างน้อย 1 ที่ทุก ๆ 100 ที่นั่ง โดยเป็นพื้นที่ราบขนาดความกว้าง x ยาว ไม่น้อยกว่า 90 x 140 ซม. ต่อ หนึ่งที่ อยู่ในตำแหน่งที่เข้าออกได้สะดวก
2. กรณีโรงแรมมีห้องพักที่ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา เข้าใช้ได้ไม่น้อยกว่า 1 ห้องต่อทุก100 ห้อง
2.1 ห้องพักอยู่ใกล้บันไดหรือบันไดหนีไฟหรือลิฟต์ดับเพลิง
2.2 มีสัญญาณบอกเหตุหรือเตือนภัย ทั้งสัญญาณที่เป็นเสียงและแสงและระบบสั่นสะเทือน ติดตั้งบริเวณที่นอน ในกรณีเกิดอัคคีภัยหรือเหตุอันตรายอย่างอื่น เพื่อให้ผู้ที่อยู่ภายในห้องพักทราบ และมีสวิตช์สัญญาณแสงและสวิตช์สัญญาณเสียงแจ้งภัยหรือเรียกให้ผู้ที่อยู่ภาย นอกทราบว่ามีคนอยู่ในห้องพัก
2.3 มีแผนผังต่างสัมผัสของอาคารในชั้นที่มีห้องพักที่ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา เข้าใช้ได้
2.4 มีอักษรเบรลล์แสดงตำแหน่งห้องพัก บันไดหนีไฟ และทิศทางไปสู่บันไดหนีไฟ ติดไว้ที่กึ่งกลางบานประตูด้านใน อยู่สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 130 ซม. แต่ไม่เกิน 170 ซม.
2.5 มีสัญลักษณ์รูปผู้พิการติดไว้ที่ประตูด้านหน้าห้องพักสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา
2.6 มีที่อาบน้ำแบบฝักบัว
2.6.1 มีพื้นที่ว่างขนาดกว้าง x ยาว ไม่น้อยกว่า 110 x 120 ซม.
2.6.2 มีที่นั่งสำหรับอาบน้ำ สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 45 ซม. แต่ไม่เกิน 50 ซม.
2.6.3 มีราวจับในแนวนอนที่ด้านข้างของที่นั่ง สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 65 ซม. แต่ไม่เกิน 70 ซม. และยาวไม่น้อยกว่า 65 ซม. แต่ไม่เกิน 70 ซม. และมีราวจับในแนวดิ่งต่อจากปลายของราวจับในแนวนอน มีความยาวจากปลายของราวจับในแนวนอนขึ้นไปอย่างน้อย 60 ซม.
2.7 มีที่อาบน้ำแบบอ่างอาบน้ำ
2.7.1 มีราวจับในแนวดิ่งห่างจากผนังด้านหัวอ่างอาบน้ำ 60 ซม.ปลายด้านล่างสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 65 ซม. แต่ไม่เกิน 70 ซม. และมีความยาวอย่างน้อย 60 ซม.
2.7.2 มีราวจับในแนวนอนที่ปลายของราวจับในแนวดิ่ง และยาวไปจนจดผนังห้องอาบน้ำด้านท้ายอ่างอาบน้ำ
2.8 มีสิ่งของ เครื่องใช้หรืออุปกรณ์ภายในที่อาบน้ำ อยู่สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 30 ซม. แต่ไม่เกิน 120 ซม.
2.9 มือจับปิดเปิดประตูเป็นชนิดก้าน*

- ทางเข้า – ออกที่มีเครื่องกั้น หรือช่องรับบริการ

1. มีทางเข้าและทางออก สำหรับคนพิการที่ใช้เก้าอี้ล้อเข็น อย่างน้อย1 ช่อง
2. ทางเข้าและทางออก มีความกว้างไม่น้อยกว่า 80 ซม.
3. มีช่องจ่ายเงิน หรือช่องรับบริการสำหรับคนพิการที่ใช้เก้าอี้ล้อเข็นอย่างน้อย 1 ช่อง
4. ช่องจ่ายเงิน หรือช่องรับบริการ มีความกว้างไม่น้อยกว่า 80 ซม.

- ทางเท้า

1. พื้นทางเท้าเรียบไม่ลื่น
2. พื้นทางเท้ากว้างไม่น้อยกว่า 1.20 เมตร
3. ท่อระบายน้ำมีฝาปิดสนิท
4. กรณีฝาปิดท่อระบายน้ำเป็นชนิดตะแกรง มีซี่หรือรูเล็กขนาดกว้างไม่เกิน 1.3 ซม
5. กรณีมีสิ่งกีดขวางบนทางเท้า มีการจัดสิ่งกีดขวางให้จัดอยู่ในแนวเดียวกัน และทำพื้นผิวต่างสัมผัส เพื่อให้คนพิการทราบก่อนถึงสิ่งขีดขวาง
6. มีรางระบายน้ำอยู่นอกทางเท้า
7. อุปกรณ์บังแดดฝนของอาคารริมทางเท้า ขณะใช้งานให้อยู่ในระดับสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 2 เมตร
8. มีทางลาดจากทางเท้าสู่พื้นถนน บริเวณทางข้ามถนนทางแยก หรือถนน ซอย และเกาะตรงกลางถนนและทำพื้นผิวต่างสัมผัส
9. ทางลาดมีความลาดเอียง 1: 12
10. กรณีทางข้ามถนนที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจร และมีพื้นผิวที่ต่างระดับทาสีให้เห็นชัดเจน


-. ป้ายหรือผัง

1. มีผังของอาคาร สถานที่ ตั้งไว้ด้านหน้าภายนอกอาคารในบริเวณที่เห็นชัดเจน
2. ภายในอาคารในทุกจุดที่มีป้ายหรือผังบอกสถานที่ต่างๆ มีอักษรเบรลล์กำกับ
3. มีป้ายหรือผังบอกทางทุกแห่งมีสีที่ชัดเจนหรือมีแสงสว่าง
4. ขนาดตัวอักษรที่เขียนบนป้ายมีความเหมาะสมกับระยะทางระยะทาง ขนาดตัวอักษร
4.1 น้อยกว่า 7 เมตร 6 x 6 ซม.
4.2 ตั้งแต่ 7-18 เมตร 11 x11 ซม.
4.3 เกิน 18 เมตรขึ้นไป 20 x 20 ซม.

- สถานที่ติดต่อสอบถาม

1. มีสถานที่สำหรับผู้ที่ใช้เก้าอี้เข็นคนพิการ
2. โต๊ะหรือเคาน์เตอร์มีระดับความสูงจากพื้น 70 ซม และมีที่ว่างข้างใต้ให้เก้าอี้เข็นคนพิการสอดเข้าได้
2.1 เคาน์เตอร์ชำระเงิน
2.2 เคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์
2.3 เคาน์เตอร์จ่ายยา
3. มีผัง (Directory) แสดงให้ทราบถึงข้อมูลสถานที่/ห้องต่างๆ*
4. มีป้ายอักษรวิ่งแสดงข้อมูลข่าวสารที่ควรทราบ

(รูปนี้ ถ่ายจากโรงแรมแห่งหนึ่ง ที่เกาะสมุย)

-. โทรศัพท์สาธารณะ

1. ติดตั้งโทรศัพท์ในระดับสูงจากพื้น 70 ซม.
2. มีโทรศัพท์ตามข้อ 1 จำนวน 1 เครื่องต่อโทรศัพท์ทั่วไป 5 เครื่อง
3. ข้างใต้เครื่องโทรศัพท์มีที่ว่างให้เก้าอี้เข็นคนพิการสอดเข้าได้
4. โทรศัพท์เป็นแบบกดปุ่ม
5. มีโทรศัพท์แบบพิมพ์ได้*(สำหรับคนพิการทางการได้ยิน)
6. ไม่มีฐานตู้โทรศัพท์ เป็นพื้นราบเสมอ(นอกอาคาร)
7. พื้นที่ภายในตู้โทรศัพท์มีขนาดไม่น้อยกว่า 75 ซม. X 120 ซม.(ภายนอกอาคาร)

( รูปจาก http://tournet.ning.com/main/authorization/signIn?target=http%3A%2F%2Ftournet.ning.com%2F )

0 comments:

Blog Archive