Friday, April 13, 2012

บริการเพื่อความปลอดภัยของผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพัง

บริการเพื่อความปลอดภัยของผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพัง PDF พิมพ์ E-mail
เปิดอ่านทั้งหมด : 406 ครั้ง
เขียนโดย อาทิรัตน์   
วันพุธที่ 04 สิงหาคม 2010 เวลา 06:36 น.

บริการเพื่อความปลอดภัยของผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพัง

            การเข้าร่วมประชุม 2010 Joint World Conference on Social Work and Social Development: The Agenda ที่ ฮ่องกงครั้งนี้นอกจากมีกิจกรรมอภิปราย นำเสนอผลงานทางวิชาการและการปฏิบัติงานที่เป็นต้นแบบดีๆแล้วยังมีการศึกษาดู งานด้วยเห็นว่าสังคมไทยกำลังกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุตามติดฮ่องกงไปอย่างรวด เร็วจึงเลือกไปดูบริการสำหรับผู้สูงอายุ

         องค์กรที่ได้รับโอกาสให้เข้าไปศึกษาดูงานชื่อว่าสมาคมเพื่อผู้สูงอายุอยู่บ้านอย่างปลอดภัยซึ่งแปลเอาเองจากภาษาอังกฤษที่ว่า Senior Citizen Home Safety Association ( SCHSA )ของฮ่องกงนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี คศ.1996 เนื่องจากมีผู้สูงอายุเสียชีวิตอยู่ที่บ้านเป็น100 ศพ โดยที่ไม่มีญาติพี่น้องหรือเพื่อนบ้านรับรู้จนกระทั่งมีกลิ่นซากศพโชยมาจาก ที่พักอาศัย เหตการณ์ครั้งนั้นจึงเป็นแรงจูงใจให้ผู้ก่อตั้งองค์กรคิดถึงบริการฉุกเฉิน 24 ชั่วโมงสำหรับผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพัง

        ในการเริ่มต้นก่อตั้งSCHSAได้มีการวิเคราะห์ความต้องการของผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพัง ดังนี้
       
1.ความต้องการทางกายภาพ เช่นเสื้อผ้า หรือผ้าห่มยามอากาศหนาวเย็น
       
2.การดูแลสุขภาพอนามัยและการสงเคราะห์ด้านการรักษา
       
3.การอยู่ในบ้านที่ปลอดภัย4.การมีคนช่วยเหลือดูแลภายในบ้าน
       
5.การช่วยเหลือฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุ
       
6.การช่วยเหลือด้านการเงิน
       
7.การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับครอบครัว
       
8.การมีปฏิสัมพันธ์กับสังคมและมีกิจกรรมทางสังคม
       
9.การได้รับข้อมูลข่าวสารในชีวิตประจำวัน
       
10.ความห่วงใยเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน

           องค์กรจึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ขององค์กร : เป็นองค์กรช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพังได้โดยปราศจากความหวาดกลัวอันตราย ให้ บริการแบบรับแจ้งเหตุฉุกเฉินด้วยเครื่องส่งสัญญาณประจำตัวของสมาชิกซึ่งมี ทั้งแบบสร้อยคอและนาฬิกาแล้วโต้ตอบกลับผ่านระบบโทรศัพท์บ้าน

สถิติการให้บริการ :
          ตั้งแต่เปิด-
30 เมษายน 2009
               
          ผู้ใช้บริการปัจจุบัน 65,155 คน
               
          ผู้ใช้บริการสะสม   126,389 คน
               
          ได้รับแจ้งเหตุ  3,272,206 ครั้ง
               
          165,213 ครั้งต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วนฉุกเฉิน

         มีนักสังคมสงเคราะห์วิชาชีพ 14 คน บุคลากรทั้งหมด 185คน   อาสาสมัครที่ผ่านการฝึกอบรมกว่า 1000 คน (อาสาสมัครได้ค่าตอบแทนในการทำงานแต่ไม่มาก) จากเดิมที่บริการมุ่งเน้นการช่วยเหลือในภาวะฉุกเฉิน Personal Emergency Link เปิดให้บริการมีบริการสนับสนุนที่เกิดขึ้นมาเพิ่มเติมตามความต้องการจำป็นของผู้สูงอายุที่ต้องอาศัยอยู่ที่บ้านตามลำพังดังนี้

          1.โทรศัพท์/โทร-สุขภาพ : สนับสนุนให้กำลังใจ  ให้ข่าวสารในชีวิตประจำวัน  เตือนให้ไปใช้บริการอื่นที่จำเป็นตามนัด
         
2.เครือข่ายอาสาสมัคร : เยี่ยมบ้าน และโทรศัพท์เยี่ยมเยียนอย่างสม่ำเสมอ  
         
3.เชื่อมโยงผู้สูงอายุกับสินค้า:ซื้อสินค้าสำหรับผู้สูงอายุ
         
4.จัดประเมินรายกรณี:เพื่อการสงเคราะห์กรณีที่มีความยากลำบากในด้านเศรษฐกิจ
         
5.นิตยสารวัยทอง:ให้ข้อมูลข่าวสาร บริการ และประชาสัมพันธ์สินค้าสำหรับผู้สูงอายุ
         
6.การจัดบริการรายกรณีด้านการเงินส่วนบุคคลสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องการการดูแลที่บ้าน
         
7.เป็นหุ้นส่วนกับผู้ให้บริการอื่นๆในการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน

           การช่วยเหลือเกื้อหนุนอย่างครบวงจร   การช่วยเหลือฉุกเฉินส่วนบุคคลเป็นการได้รับบริการหนุนเสริมจากเครือข่ายการให้บริการเพื่อความปลอดภัยดังนี้
          
1.โรงพยาบาล
          
2.เครือข่ายโทรศัพท์
          
3.องค์กรการไฟฟ้า
          
4.หน่วยรถกู้ชีพ
          
5.การเคหะแห่งชาติ
          
6.สำนักงานสวัสดิการสังคม
          
7.สื่อสารมวลชน
          
8.สมาคมเครือข่ายอาสาสมัครการช่วยเหลือฉุกเฉินส่วนบุคคล
          
9.สาธารณะชนทั่วไป

บริการหลักของการช่วยเหลือส่วนบุคคล ( P E Link )
          
1.การช่วยเหลือฉุกเฉิน 24 ชั่วโมง
          
2.บริการจัดการรายกรณีอย่างง่ายไม่ซับซ้อน เช่นการเตือนให้ไปรับบริการตามนัด
          
3.บริการส่งต่อไปโรงพยาบาล
          
4.การสนับสนุนให้กำลังใจหลังจากออกจากโรงพยาบาลเพื่อการอยู่อย่างอิสระตามลำพังของผู้สูงอายุ 

ตัวอย่างการให้บริการความช่วยเหลือฉุกเฉินของ PE Link เมื่อสมาชิกได้รับอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยกระทันหันให้กดปุ่มอุปกรณ์เชื่อมต่อ ( อาจ เป็นสร้อยคอ หรือนาฬิกาที่มีอุปกรณ์สัณญาณ หรือมือถือ) สู่ศูนย์ช่วยเหลือก็จะมีโทรศัพท์เข้ามาสอบถามอาการเบื้องตนเพื่อประเมินและ ดำเนิการช่วยเหลือต่อไป เช่น ดำเนินการช่วยเหลือทันทีแจ้งญาติพี่น้องให้ทราบ ส่งสำเนาประวัติการรักษาพยาบาลให้โรงพยาบาลที่สมาชิกไปใช้บริการฉุกเฉิน เข้าสู่บริการช่วยเหลือย่างต่อเนื่อง

            ถ้าเป็นกรณีเชื่อมต่อสัญญาณด้วยโทรศัพท์มือถือซึ่งเริ่มเปิดบริการเมื่อปี2008เป็น การขยายต่อการช่วยเหลือยามฉุกเฉินเมื่อผู้ใช้บริการออกไปนอกบ้าน เมื่อสมาชิกส่งสัญญาณความช่วยเหลือทางศูนย์บริการจะจับสัญญาณที่เกิดเหตุและ แจ้งให้ญาติทราบหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ถ้าผู้ใช้บริการมีอาการหนักไม่สามารถช่วยตัวเองได้มือถือจะส่งเสียงร้อง เรียกความสนใจจากคนรอบข้างใกล้เคียงให้เข้ามาช่วยเหลือ หรือให้บริการเป็นแบบเลขานุการส่งต่อไปยังบุคลที่เป็นผู้ประสานบริการอื่นๆ

            ตัวอย่าง สมาชิกที่ได้รับความช่วยเหลือ นายก.ผู้สูงอายุที่พักอาศัยอยู่ตามลำพังมีโรคหอบหืดประจำตัวและมีอาการบ่อย มากทำให้มีความวิตกกังวลเรื่องความปลอดภัยจึงสมัครเป็นสมาชิกและใช้บริการ เรียกฉุกเฉิน 20 กว่าครั้งแล้วและรู้สึกขอบคุณบริการที่ช่วยเหลือได้ทุกครั้ง

             องค์กรนี้ดำเนินงานอย่างที่เขาเรียกกันว่า social enterprise ซึ่ง ต้องมีพันธกิจทั้งด้านสังคมและธุรกิจโดยพันธะทางสังคมนั้นองค์กรได้วาง ตำแหน่งไว้ว่าเป็นแม่ข่ายของการบริการช่วยเหลือผู้สูงอายุในยามฉุกเฉิน เป็นองค์กรที่เลี้ยงตัวเองได้โดยไม่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐ

            เพื่อน ร่วมกลุ่มที่ไปดูงานยิ่งเป็นแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เหมือนเราจะบอกเป็น เสียงเดียวกันว่าอยากให้บ้านเรามีบริการแบบนี้บ้างผู้สูงอายุจะได้มีความสุข และมั่นใจว่าเมื่อยามฉุกเฉินจะมีคนคอยช่วยเหลือได้ทัน 

สร้อย คอ และนาฬิกาเป็นเครื่องมือในการส่งสัญญาณ ส่วนเครื่องโทรศัพท์บ้านก็ทำให้การติดต่อสื่อสารได้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อประเมินสถานการณ์ปัญหาและความต้องการบริการในการช่วยเหลือต่อไป

 

อุปกรณ์ของใช้ในครัวเรือนก็ถูกออกแบบให้เหมาะสมกับการใช้งานที่ปลอดของผู้สูงอายุ

 

สินค้าเพื่อความปลอดภัยของผู้สูงอายุก็มีจำหน่ายที่มุมหนึ่งของหน่วยงานด้วยค่ะ

 

คุณTimothy ผู้อำนวยการของสมาคมบรรยายให้พวกเราเข้าใจเกี่ยวกับหน่วยงาน

 

เมื่อพาไปดู call center ที่มีคนรับโทรศัพท์ 24 ชั่วโมงโดยแบ่งออกเป็น 5 กะ เห็นภาพแล้วแต่ละคนมืออาชีพจริงๆทั้งพูดคุยและกรอกข้อมูลทันทีและประสานส่งต่ออีกแต่ละคนมีโทรศัพท์ 2 เครื่อง คอมพิวเตอร์ 2 หน้าจอ แค่เห็นเรายังตาลาย พวกเราก็ตามมาถามผู้อำนวยการกันต่ออีก ห้ามถ่ายภาพในcall center จึงไม่ได้ภาพมาให้ดูนะ 

สมาคมตั้งอยู่ภายในกลุ่มที่พักอาศัยแบบตึกสูงๆของชาวฮ่องกง   องค์กรนี้ได้รับรางวัลเรื่องของนวัตกรรมใหม่และอีกหลายรางวัลพร้อมทั้งได้ขยาย know how นี้ไปต่างประเทศ มีหลายประเทศสนใจให้องค์กรนี้เป็นที่ปรึกษา      

0 comments:

Blog Archive