Sunday, April 15, 2012

ระบบไฟฟ้ำภายในบ้าน

การเปลี่ยนแปลงระบบไฟฟ้าภายในบ้าน


     หลังจากมหาอุทกภัยผ่านพ้นไป หลายท่านเริ่มกลับเข้าบ้านเพื่อตรวจสอบความเสียหาย แต่ก่อนกลับเข้าไปนั้น จะต้องมั่นใจว่าระบบไฟฟ้าในบ้านของท่านได้ถูกตัดเรียบร้อยแล้ว โดยอาจตรวจสอบจากการไฟฟ้านครหลวงสำหรับบ้านที่อยู่ในกรุงเทพฯ  หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสำหรับบ้านที่อยู่ต่างจังหวัด

     แต่หากเพื่อความมั่นใจ ท่านควรตรวจสอบระบบไฟฟ้าภายในบ้าน โดยเริ่มจากการเปิด     คัตเอ้าท์ให้ไฟเข้าระบบ ถ้าส่วนใดยังชื้นอยู่ คัตเอ้าท์จะตัดไฟและฟิวส์จะขาด ให้ปล่อยทิ้งไว้ 1 วัน เปลี่ยนฟิวส์แล้วลองเปิดใหม่ ถ้ายังตัดอีกให้ตามช่างไฟฟ้ามาตรวจสอบ แต่หากไฟฟ้าไม่ตัด ก็ให้ตรวจสอบดูว่า มีกระแสไฟฟ้ารั่วตรงจุดใดหรือไม่ โดยให้ลองเปิดไฟและเครื่องใช้ไฟฟ้า แล้วจึงตรวจสอบด้วยไขควงเช็กไฟ หรือใช้วิธีการปิดไฟทุกจุดและถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าออกทั้งหมด แล้วตรวจดูที่มิเตอร์ไฟฟ้าว่าตัวเลขยังเดินอยู่หรือไม่ ถ้าเดินแสดงว่าระบบไฟฟ้าในบ้านรั่ว ควรตามช่างไฟฟ้ามาตรวจสอบ และทำการแก้ไขทันที

    เมื่อทำการตรวจสอบตามขั้นตอน และดำเนินการแก้ไข ขอแนะนำให้ช่างเปลี่ยนแปลงระบบไฟฟ้าภายในบ้าน สำหรับบ้านที่น้ำท่วม และมีโอกาสว่าในอนาคตน้ำจะท่วมอีก ควรจะต้องมีการแก้ไขระบบไฟฟ้าใหม่ ดังนี้

1. ตัดระบบไฟฟ้าของปลั๊กเดิมทิ้ง ย้ายให้สูงขึ้นมาจากระดับพื้นประมาณ 1 เมตร เพื่อให้พ้นระดับน้ำ ส่วนชั้นบนของบ้านสองชั้นไม่จำเป็นต้องย้าย เพราะระดับน้ำท่วมไม่ถึง

2. แยกระบบไฟฟ้าในส่วนที่น้ำท่วมบ่อย ๆ ออกเป็นอีกวงจรหนึ่ง เพื่อสะดวกในการปิด-เปิด โดยเฉพาะส่วนปลั๊กที่อยู่ชั้นล่าง ในกรณีเป็นบ้านที่สร้างใหม่ หากบ้านของท่านอยู่ในบริเวณกลุ่มเสี่ยงที่น้ำท่วมถึง ควรให้วิศวกรแยกระบบไฟฟ้าตั้งแต่แรกก็จะประหยัดงบประมาณได้มากและสวยงามกว่า ที่จะมารื้อและแก้ไขในภายหลัง



รูปภาพการแยกระบบไฟฟ้า

     จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ อยากให้ท่านเจ้าของบ้านทุกท่านพึงระลึกเสมอว่า ไฟฟ้าสามารถทำอันตรายได้ถึงชีวิต ถ้าหากไม่แน่ใจหรือไม่สามารถทำเองได้ ควรจะให้ช่างเทคนิคหรือช่างไฟฟ้าเป็นผู้แก้ไขให้จะดีที่สุด
 
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงและแหล่งที่มาภาพจาก:
http://lekkanka.com
http://www.alinehomecare.com

ระบบไฟฟ้าแบ่งออกได้เป็น 2 ระบบ ดังนี้

1. ระบบไฟฟ้า 1 เฟส คือระบบไฟฟ้าที่มีสายไฟฟ้าจำนวน 2 เส้น เส้นที่มีไฟเรียกว่าสายไฟหรือสายเฟส หรือสายไลน์ เขียนแทนด้วยตัวอักษร L (Line) เส้นที่ไม่มีไฟเรียกว่าสายนิวทรอล หรือสายศูนย์ เขียนแทนด้วยตัวอักษร N (Neutral) ทดสอบได้โดยใช้ไขควงวัดไฟ เมื่อใช้ไขควงวัดไฟแตะสายเฟส หรือสายไฟ หรือสายไลน์ หลอดไฟเรืองแสงที่อยู่ภายไขควงจะติด สำหรับสายนิวทรอล หรือสายศูนย์ จะไม่ติด แรงดันไฟฟ้าที่ใช้มีขนาด 220 โวลท์ (Volt) ใช้สำหรับบ้านพักอาศัยทั่วไปที่มีการใช้ไฟฟ้าไม่มากนัก

2. ระบบไฟฟ้า 3 เฟส คือ ระบบไฟฟ้าที่มีสายเส้นไฟจำนวน 3 เส้น และสายนิวทรอล 1 เส้น จึงมีสายรวม 4 เส้น ระบบไฟฟ้า 3 เฟส สามารถต่อใช้งานเป็นระบบไฟฟ้า 1 เฟส ได้ โดยการต่อจากเฟสใดเฟสหนึ่งและสายนิวทรอลอีกเส้นหนึ่ง แรงดันไฟฟ้าระหว่างสายเฟสเส้นใดเส้นหนึ่งกับสายนิวทรอลมีค่า 220 โวลท์ และแรงดันไฟฟ้าระหว่างสายเฟสด้วยกันมีค่า 380 โวลท์ ระบบนี้จึงเรียกว่าระบบไฟฟ้า 3 เฟส 4 สาย 220/380 โวลท์ ระบบนี้มีข้อดีคือสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้มากกว่าระบบ 1 เฟส ถึง 3 เท่า จึงเหมาะสมกับสถานที่ที่ต้องการใช้ไฟฟ้ามากๆ เช่น อาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก เป็นต้น

สายกราวด์ เป็นสายวงจรภายในบ้าน สายดิน

รูปภาพ

สายดิน
สายดิน คือ สายไฟเส้นที่มีไว้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อการใช้ไฟฟ้า ปลายด้านหนึ่งของสายดินจะต้องมีการต่อลงดินส่วนอีกด้านหนึ่งจะต่อเข้ากับ วัตถุหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการให้มีศักย์ไฟฟ้าเป็นศูนย์เท่ากับพื้นดิน
ทำไมต้องมีสายดิน
- สายดินจะช่วยป้องกันไม่ให้ถูกไฟฟ้าดูด เมื่อมีไฟรั่วจากเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยไฟฟ้าที่รั่วไหล ไหลลงดินผ่านทางสายดินแทนที่จะไหลผ่านร่างกาย
- เมื่อมีไฟรั่วสายดินจะช่วยให้เครื่องตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติตัดไฟออกทันที
(Breaker)
เครื่องใช้ไฟฟ้าบางประเภท หากไม่มีสายดินอาจทำงานได้ไม่สมบูรณ์หรือชำรุดได้ง่าย เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สื่อสาร เป็นต้น

ตามประกาศบังคับให้ผู้ใช้ไฟ ติดตั้งระบบสายดิน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2546 ดังนี้

1. สำหรับผู้ใช้ไฟรายใหม่ทุกราย ทุกประเภท ต้องมีระบบสายดินและมีการต่อลงดินตามมาตรฐาน ยกเว้น ผู้ใช้ไฟประเภทที่อยู่อาศัยนอกเขตเทศบาล หรือผู้ใช้ไฟในเขตชนบท ซึ่งติดตั้งมิเตอร์ขนาดไม่เกิน 5(15) แอมป์ จะมีระบบสายดินหรือไม่ก็ได้
ระบบสายดินตามมาตรฐานประกอบด้วย
1.แผงสวิตซ์ที่มีขั้วต่อสายดิน
2.สายดินของเครื่องใช้ไฟฟ้า
3.สายต่อฝาก
4.สายต่อหลักดิน
5.หลักดิน
6.เต้ารับที่มีขั้วสายดิน

  งานด้านสาธารณูปโภคนับเป็นสิ่งอำนวยความสะดวก พื้นฐานที่สำคัญ ได้แก่ ระบบไฟฟ้า  ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการดำเนินชีวิตในยุคปัจจุบัน การวางระบบไฟฟ้าที่ดี รวมทั้งการเดินสายไฟ จะให้ความปลอดภัย และความสะดวกสบายแก่ผู้อยู่อาศัยไปได้นาน  และในวันนี้...ผมจึงอยากนำเสนอ หลากหลายคำถามจากเจ้าของบ้านเกี่ยวกับเรื่องระบบไฟฟ้าภายในบ้าน เพื่อให้เกิดความรู้ และความเข้าใจกับระบบไฟฟ้ามากขึ้น  

 

วงจรไฟฟ้าในบ้านมีอะไรบ้าง ?

     วงจรไฟฟ้าภายในบ้านส่วนใหญ่จะเป็นการต่อแบบขนาน ซึ่งเป็นการต่อวงจรทำให้อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดอยู่คนละวงจร ซึ่งถ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดหนึ่งเกิดขัดข้องเนื่องจากสาเหตุใดก็ตาม เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดอื่นก็ยังคงใช้งานได้ตามปกติเพราะไม่ได้อยู่ในวงจรเดียว กัน

 
     ไฟฟ้าที่ใช้ในบ้านเรือนทั่วไปเป็นไฟฟ้ากระแสสลับมีความต่างศักย์ 220 โวลต์ การส่งพลังงานไฟฟ้าเข้าบ้านจะใช้สายไฟ 2 เส้น คือ
1. สายกลาง หรือสาย N มีศักย์ไฟฟ้าเป็นศูนย์
2. สายไฟ หรือสาย L มีศักย์ไฟฟ้าเป็น 220 โวลต์

     โดยปกติสาย L และสาย N ที่ต่อเข้าบ้านจะต่อเข้ากับแผงควบคุมไฟฟ้า ซึ่งเป็นที่ควบคุมการจ่ายพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดในบ้านอย่างมีระบบ บนแผงควบคุมไฟฟ้ามักจะประกอบด้วย ฟิวส์รวม สะพานไฟรวม และสะพานไฟย่อย โดยสะพานไฟย่อยมีไว้เพื่อแยก และควบคุมการส่งพลังงานไฟฟ้าไปยังวงจรไฟฟ้าย่อยตามส่วนต่างๆ ของบ้านเรือน เช่น วงจรชั้งล่าง วงจรชั้นบน วงจรในครัว เป็นต้น

 
วงจรไฟฟ้า.jpg

ภาพแสดงตัวอย่างวงจรไฟฟ้าในบ้าน 

  

      ในวงจรไฟฟ้าในบ้าน กระแสไฟฟ้าจะผ่านมาตรไฟฟ้าทางสาย L เข้าสู่สะพานไฟ ผ่านฟิวส์ และสวิตช์ แล้วไหลผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้า ดังนั้นกระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านสาย N ออกมา ดังภาพ 

 
วงจรไฟฟ้าในบ้าน.jpg

ภาพแสดงการไหลของกระแสไฟฟ้าในบ้าน



0 comments:

Blog Archive