หลอดไฟไล่ยุง ประหยัดไฟ แบบเกลียว
หลอดไฟไล่ยุง ประหยัดไฟ แบบเกลียว
ราคา 320 บาท
ราคาพร้อมจัดส่ง EMS 320 บาท
มาซื้อที่สำนักงาน TKT 260 บาท
หากซื้อ 10หลอดขึ้นไป ราคาหลอดละ 220 บาท
Model : WN-ML1001
Walt : 25W
Voltage : 220-240V
Life Time : 3,000 H
Frequency : 50/60Hz
Price : 340 บาท
ราย ละเอียด : หลอดไฟไล่ยุง เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพในการไล่ยุงและราคาประหยัด หลักการทำงานของหลอดไฟไล่ยุง : เลียนแบบแสงอาทิตย์ซึ่งมีสเปคตรัมพิเศษบางอย่างที่ยุงจะไม่ชอบเข้าใกล้ เมื่อเปิดหลอดไฟไล่ยุงหลอดจะส่องแสงสีเหลืองนวลและสเปคตรัมพิเศษที่อ่อนไหว ต่อสารประกอบของตายุง ทำให้ยุงไม่กล้าเข้าใกล้และบินหนีไปที่สุด
- ประหยัดพลังงานสูงถึง 80 เปอร์เซ็นต์
- มีอายุการใช้งานสูงถึง 3,000 ช.ม./หลอด
- สามารถไล่ยุงได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างน่ามหัศจรรย์ สามารถส่องแสงไล่ยุงในรัศมีจากหลอด 2 เมตร
- หลอดไฟไล่ยุง ได้ผ่านการทดสอบคุณภาพ ผ่านการรับรองมาตรฐานสากล CE และ ISO 9001 มอก.956-2533 มอก.195-2542
- ไม่เป็นอันตรายปราศจากสารพิษ ไม่มีควัน ไม่มีสารเคมี ไม่มีรังสี
- ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมต่อบุคคลรอบข้างและไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก
จาก การศึกษาประวัติของโรคไข้เลือดออก โดยฮาลสเตค ( S.B. Halstead 1980 ) กล่าวโดยสรุปว่าความหมายของ “ Dengue “ ที่มีในศัพท์ภาษาอังกฤษมาจากภาษาสเปนในหมู่เกาะอินดิสตะวันตก ( West indies ) ซึ่งออกเสียงเหมือนภาษาสเปนคำว่า “ Kl Denga pepo ” มีความหมายว่าเป็นอาการลมชักที่มีสาเหตุมาจากวิญญาณอันชั่วร้าย ( สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. 2533 : 32 )
โรคไข้เลือดออก เป็นกลุ่มอาการของผู้ป่วย เริ่มด้วยอาการมีอาการไข้ เลือดออกบริเวณใต้พื้นผิวหนังและตามอวัยวะต่างๆ ซึ่งมีความรุนแรงต่างๆ กัน อาจมีอาการช็อกร่วมด้วยหรือไม่มีก็ได้ ( ชวลิต ทัศนสว่าง. 433 ) การรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในประเทศไทยหมายถึงโรคที่เกิดจากเชื้อ Dengue virus Chigkugunya Virus เท่านั้น ( กองระบาดวิทยา กระทรวงสาธารสุข อ้างใน ประหยัด แดงสุภา. 2542 : 5 )
ระบาดวิทยา
ไข้เลือดออก พบมีการระบาดครั้งแรกในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2501 มีการระบาดครั้งใหญ่ในกรุงเทพมหานคร ประมาณ 2,500 ราย ตายกว่า 200 กว่าราย และมีการระบาดไปทั่วทุกภาคของประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน หมู่บ้านที่ไม่มีการระบาด 3 ปี ติดต่อกันน่าจะมีความเสี่ยงมากกว่าพื้นที่ที่มีการระบาดใหม่ การระบาดมีความสัมพันธ์กันกับระดับภูมิคุ้มกันของไวรัสทั้ง 4 ไทป์ ชุมชน หรือ หมู่บ้านที่หนาแน่นพบอัตราป่วยสูงกว่าชุมชน หรือ หมู่บ้านกระจัดกระจาย อ้างใน ประหยัด แดงสุภา ( 2542 : 17 )
สาเหตุและการเกิดโรค
เชื้อ ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคไข้เลือดออก คือ เชื้อไวรัส เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุที่สำคัญคือ Dengue virus ซึ่งเป็น RNA virus อยู่ในครอบครัว Family Togaviridae กลุ่ม Subgruop flavivirus มีอยู่ 4 serotype คือserotype 1, 2, 3, 4 เชื้อ Dengue virus ทั้ง 4 serotype นี้มี Antigen บางส่วนร่วมกัน ดังนั้น เมื่อเชื้อตัวใดตัวหนึ่งเข้าสู่ร่างกาย จะทำให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อตัวนั้นซึ่งอยู่ได้ถาวร และยังต่อต้านข้ามไปยังเชื้อชนิดอื่น ๆ อีก 3 ชนิด (Cross reaction) แต่อยู่ไม่ถาวร โดยทั่วไปอยู่ได้นาน 6 – 12 เดือน หลังจากระยะนี้แล้วคนที่เคยติดเชื้อ ไวรัส Dengue ชนิดหนึ่งอาจติดเชื้อ Dengue ชนิดอื่นที่แตกต่างไปจากครั้งแรกอีกได้ ถือเป็นการติดเชื้อซ้ำครั้งที่ 2 การติดเชื้อซ้ำนี้เป็นที่เชื่อกันว่า เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก เชื้อไวรัสที่แยกจากผู้ป่วยดังกล่าวนี้ มีทั้ง 4 ชนิด แต่ที่พบบ่อยคือ Dengue 2 และ 4 ในระยะหลังเริ่มพบเชื้อชนิด Dengue 1, 3 มากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่า ในรายที่มีอาการรุนแรงถึงขั้นช็อก Dengue Shock Syndrome มักตรวจพบเป็นรายที่มีภูมิต้านทานอยู่ก่อนในระดับที่ไม่สามารถป้องกันโรคได้ และถ้ามีอาการติดเชื้อซ้ำด้วย Dengue 2 จะตรวจพบอาการรุนแรงได้ อ้างใน ชวลิต ทัศนสว่าง ( 2536 : 433 ) และ กรมควบคุมโรคติดต่อ ( 2537. : 59 )
การติดต่อ
โรค ไข้เลือดออกติดต่อโดยยุงลายเป็นพาหะนำโรค การติดต่อเกิดจากการที่ยุงลายไปดูดกินเลือดจากผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัส Dengue จากนั้นเชื้อไวรัสจะลงสู่กระเพาะยุงลาย ฝังตัวในผนังกระเพาะยุง เพิ่มแบ่งจำนวนตัวมันเอง แล้วเดินทางไปยังส่วนหัวของยุงลายเข้าสู่ต่อมน้ำลาย เมื่อยุงลายบินไปกัดดูดเลือดคนใหม่ก็จะปล่อยเชื้อไวรัส Dengue เข้าสู่กระแสเลือดของคนที่ถูกยุงลายกัด แล้วเชื้อจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น จนทำให้เกิดอาการป่วยเป็นโรค ระยะเวลาที่เชื้อไวรัส Dengue เดินทางจากกระเพาะยุงลายถึงต่อมน้ำลายยุงลาย ใช้เวลาประมาณ 8 – 12 วัน ระยะที่เชื้อไวรัส Dengue เข้าสู่กระแสเลือดของคนที่ถูกกัดดูดเลือดใหม่ แล้วเพิ่มจำนวนจนทำให้เกิดอาการป่วยขึ้น เรียกว่าระยะฟักตัวของโรค ใช้เวลา 3 – 14 วัน โดยทั่วไปใช้เวลา 7 – 10 วัน
สถานที่และเวลาในการระบาดของโรคไข้เลือดออก
ส่วน มากจะพบการระบาดในฤดูฝน เกิดจากความถี่ในการกัดและการเจริญเติบโตของไวรัสในตัวยุง ในฤดูฝนมีมากกว่าในฤดูหนาวและฤดูร้อน และพบว่าถ้าพบผู้ป่วยในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อนปีใดจะมีอัตราป่วยด้วยโรคไข้ เลือดออก มากกว่าปกติในช่วงฤดูฝนของปีนั้นจะเกิดการระบาดดังกล่าว อ้างใน ประหยัด แดงสุภา (2542 : 16 –20 )
กลุ่มอายุ
พบในทุกกลุ่มอายุ ทุกเพศ ในอดีตพบมากในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ในปัจจุบันพบในกลุ่มอายุ 5 –9 ปี และมีผู้ป่วยผู้ใหญ่มากขึ้น เด็กผู้หญิงและแม่บ้านที่ใช้ชีวิตประจำวันในบ้านเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากกว่า เด็กชายที่ชอบวิ่งเล่นนอกบ้าน และพ่อบ้านซึ่งมีการประกอบอาชีพนอกบ้านเช่นกัน อ้างใน ประหยัด แดงสุภา ( 2542 : 16 )
พาหะนำโรค
ยุงเป็นพาหะนำโรคจัดอยู่ใน Class Insecta (Hexapoda), Order Diptera, Family Culicidae จะวางไข่บนผิวน้ำ หรือตามขอบภาชนะที่มีน้ำขัง 1 – 5 วันก็จะกลายเป็นตัวอ่อน (Larva) ซึ่งเรียกว่าลูกน้ำ (Instar) และมีการลอกคราบถึง 4 ครั้ง เป็นลูกน้ำระยะที่ 1, 2, 3 และ 4 ใช้ระยะเวลาประมาณ 7 – 10 วัน ในช่วงเป็นลูกน้ำจะกินอาหารเก่ง เมื่อลอกคราบครั้งสุดท้ายจะเป็นตัวโม่ง (Pupa) ในระยะตัวโม่งจะเคลื่อนไหวช้าลงหรือไม่เคลื่อนไหวเลย ระยะนี้จะไม่กินอาหาร ประมาณ 1 – 2 วัน จะลอกคราบเป็นตัวเต็มวัย (Adult) เมื่อออกจากคราบตัวโม่งใหม่ ๆ จะไม่สามารถบินได้ทันที ต้องรอเวลาระยะหนึ่ง เพื่อให้เลือดฉีดเลี้ยงเข้าเส้นปีก ทำให้เส้นปีกแข็งจึงจะบินได้ ระยะนี้ใช้เวลา 1 – 2 ชั่วโมง พอบินได้ก็พร้อมที่จะหาอาหารและผสมพันธุ์ โดยปกติยุงตัวผู้จะเกิดก่อนยุงตัวเมีย 1 – 2 วัน ยุงตัวผู้จะกินน้ำหวาน และตัวเมียจะกินน้ำหวานเพื่อใช้เป็นพลังงานในการบิน หลังจากผสมพันธุ์แล้ว ตัวเมียจะหาอาหารเลือดซึ่งเป็นเลือดคนหรือสัตว์ ขึ้นอยู่กับชนิดของยุง ยุงกินเลือดทำให้ไข่สุกพร้อมที่จะวางไข่ ยุงตัวเมียจะผสมพันธุ์เพียงครั้งเดียว และสามารถวางไข่ได้ตลอดชีวิต ระยะการเจริญเติบโตของยุงขึ้นอยู่กับอาหาร อุณหภูมิ และความชื้น ยุงลาย เป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออก มีลักษณะโดยทั่วไปคือ เป็นยุงที่มีขนาดปานกลาง ลำตัวและขามีสีดำสลับขาวเป็นปล้อง ๆ ขาหลังปลายปล้องสุดท้ายขาวหมด ยุงพวกนี้หากินเวลากลางวัน ช่วงเวลาที่พบมากที่สุดคือเวลา 09.00 – 11.00 น. และเวลา 13.00 – 14.30 น. ยุงลายจะพบมากในฤดู
หลอดไฟไล่ยุง Mosto Plus |
เครื่องดักแมลงบิน - เครื่องจับยุง
|
|
0 comments:
Post a Comment